เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
อารมณ์ช่วยนำทางสมองไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างไร
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: อารมณ์ช่วยนำทางสมองไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างไร (อ่าน 3051 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
อารมณ์ช่วยนำทางสมองไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างไร
เมื่อ:
พฤษภาคม 01, 2021, 12:20:21 AM
แปลและเรียบเรียง: จิราเจต วิเศษดอนหวาย
ห้องเรียนที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้เป็นอย่างไร ใช่ห้องเรียนที่ครบครันไปด้วยอุปกรณ์การเรียนรู้ ไม่ว่าห้องเรียนที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ของคุณครูแต่ละคนจะมีลักษณะเป็นอย่างไร แต่ในทุกห้องเรียนจะมีห้องเรียนอีกห้องหนึ่งที่ซ่อนอยู่ภายในสมองของนักเรียน และจะไม่ถูกเปิดออกจนกว่าคุณครูจะใช้กุญแจดอกสำคัญที่เรียกว่า อารมณ์ มาไขเข้าไป
จากการวิจัยในสาขาจิตวิทยาเชิงบวกทำให้เราเข้าใจความสำคัญของอารมณ์เพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่าสมองส่วน Limbic Brain ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและการเรียนรู้ต้องใช้อารมณ์เป็นตัวชี้นำ อารมณ์จะทำหน้าที่เสมือนกุญแจที่คอยไขเปิดห้องสมองให้ข้อมูลหรือเหตุการณ์เข้ามาประมวลผลและสร้างกระบวนการเรียนรู้
ในวันนี้จึงอยากพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับอารมณ์ 3 ประเภท จากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ไรน์ฮาร์ด เพครน (Reinhard Pekrun) และบาร์บารา เฟรเดอริกสัน (Barbara Frederickson) ได้แบ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนไว้ดังนี้
1. อารมณ์จากเนื้อหา (topic emotion)
เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเรียนรู้เนื้อหาของบทเรียน ในวิชาภาษาไทย นักเรียนอาจจะรู้สึกโศกเศร้าไปกับชะตาชีวิตของตัวละครในวรรณคดี เราอาจจะรู้สึกตื่นตะลึงกับข้อเท็จจริงในวิชาวิทยาศาสตร์ อารมณ์จากเนื้อหาจะดึงดูดและเพิ่มพูนความสนใจที่จะเรียนรู้ให้มากขึ้น
2. อารมณ์เชิงสังคม (social emotion)
เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในห้องเรียน เช่น อารมณ์อิจฉาเพื่อนกลุ่มอื่น อารมณ์ปลาบปลื้มยินดีเมื่อได้รับการยอมรับจากคุณครู อารมณ์เชิงสังคมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจะช่วยให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนมากขึ้น หากคุณครูรับฟังและช่วยให้เขาจัดการกับอารมณ์ในแง่ลบ
3. อารมณ์ใฝ่เรียนรู้ (epistemic emotion)
เป็นอารมณ์ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนจดจ่อตั้งใจกับกิจกรรมการเรียนรู้ อารมณ์ใฝ่เรียนรู้ เช่น อารมณ์ประหลาดใจหรือสับสนงุนงงเมื่อเห็นโจทย์หรือคำถาม หรืออารมณ์หงุดหงิดไม่ได้ดั่งใจเวลาเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ หากคุณครูให้ความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ อารมณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นความตื่นเต้น ความสงสัยใคร่รู้ และความกระตือรือร้น ที่จะผลักดันให้นักเรียนไขว่คว้าการเรียนรู้ที่เปี่ยมความหมายด้วยตัวของเขาเอง การกระตุ้นนักเรียนด้วยภาพและปัญหาเชาวน์จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจสำหรับการกระตุ้นอารมณ์ใฝ่เรียนรู้
อารมณ์ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ
อารมณ์สัมฤทธิผล (achievement emotion)
เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการทดสอบและข้อสอบรูปแบบต่าง ๆ อารมณ์นี้จะส่งผลให้นักเรียนเชื่อมโยงความภาคภูมิใจไว้กับความสำเร็จ ในขณะที่เครียดวิตกกังวลเชื่อมโยงกับกับความล้มเหลว อารมณ์เหล่านี้พบได้มากในวัฒนธรรมชั้นเรียนของห้องเรียนในประเทศไทย
ในชั่วโมงเรียนครั้งต่อไปจึงอยากชวนคุณครูทุกคน นอกจากเตรียมเนื้อหาการสอนเพียงอย่างเดียว เรามาลองเพิ่มตัวแปรที่จะกระตุ้นทางอารมณ์ให้กับผู้เรียน ทั้งความอยากรู้อยากเห็น ความหลงใหล ความสนุก เพื่อพิสูจน์ว่าอารมณ์ช่วยนำทางสมองให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
อ้างอิง
Barbara L. Fredrickson. (April 2001). The Role of Positive Emotions in Positive Psychology Retrieved February 8, 2021, from
https://doi.apa.org/doiLanding?doi=10.1037%2F0003-066X.56.3.218
จุฑามาศ แหนจอน. (ธันวาคม 2558). สมองกับอารมณ์: มหัศจรรย์ความเชื่อมโยง. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564 จาก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Ratchaphruekjournal/article/view/91887
ที่มา :
https://www.educathai.com/knowledge/articles/478
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
อารมณ์ช่วยนำทางสมองไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างไร
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?