เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดีกับนักเรียน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดีกับนักเรียน (อ่าน 3069 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดีกับนักเรียน
เมื่อ:
กรกฎาคม 29, 2021, 01:23:27 AM
เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์
--- การมีความหวังและการมองโลกแง่ดี ทําให้นักเรียนมีชีวิตชีวาและสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้เต็มที่
--- การฝึกมองโลกแง่ดีเท่ากับการฝึกมองโลกจากมุมมองที่แตกต่าง ครูลองหาทางทำให้ถ้อยคําในการสนทนาประจําวันเป็นวาทกรรมของการมองโลกแง่ดี เช่น เมื่อนักเรียนทักทายครูว่า How are you doing? ครูตอบว่า Never be better หรือ I am living my dream หรือ It?s a great day to learn และอาจถามกลับว่า And how about you? เป็นตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า ครูพึงพอใจงานและชีวิต
--- สนับสนุนการมีความฝัน เป็นวิธีช่วยให้เด็กค่อยๆ พัฒนาความคิด เส้นทางชีวิตและความสามารถ ทําโดยตั้งคําถามเรื่องความฝัน เรื่องอนาคต ของตนเอง โดยต้องมีกติกาในชั้นว่าห้ามดับฝัน เมื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งแชร์ความฝัน อาจไม่มีเพื่อนสนับสนุนเลย แต่จะมีคนคนหนึ่งที่สนับสนุน คือ ครู
ความหวัง (hope) และการมองโลกแง่ดี (optimism) เป็นคำที่แตกต่างกัน แต่มีการสับสนกันบ่อยมาก แม้ในวงการวิจัยก็สับสน ความหวังเป็นความรู้สึกว่าในที่สุดเรื่องราว หรือเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น ส่วนการมองโลกแง่ดีเป็นความเชื่อว่า เรื่องราวจะก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นจากฝีมือของตนเอง นี่คือนิยามจากในหนังสือนะครับ ไม่ใช่นิยามของผม
บ่อยครั้งที่คนมีความหวังเป็นคนที่มีระดับของการควบคุมตนเองตํ่า คือ หวังว่าจะมีคนอื่นมาทําให้ดีขึ้น ไม่ใช่ฝีมือ ของตนเอง ส่วนการมองโลกแง่ดีเป็นการเชื่อมั่นในตนเองว่าจะทําให้ดีขึ้นได้
หนังสือเสนอกลยุทธสร้างการมองโลกแง่ดีและมีความหวัง 4 ประการ คือ 1.สร้างรูปแบบการมองโลกแง่ดีทุกวัน 2.สร้างความหวังทุกวัน 3.สร้างความคิดที่ดีต่อตนเอง และ 4.ส่งเสริมสนับสนุนการมีความฝัน
1.สร้างรูปแบบการมองโลกแง่ดีทุกวัน
เมื่อไรที่เรามองโลกในแง่ดีเท่ากับว่าเรามองเรื่องร้ายเป็นสิ่งชั่วคราว มีข้อจํากัด และจัดการได้ การฝึกมองโลกแง่ดีเท่ากับการฝึกมองโลกจากมุมมองที่แตกต่าง ครูลองหาทางทำให้ถ้อยคําในการสนทนาประจําวันเป็นวาทกรรมของการมองโลกแง่ดี เช่น เมื่อนักเรียนทักทายครูว่า How are you doing? ครูตอบว่า Never be better หรือ I am living my dream หรือ It?s a great day to learn และอาจถามกลับว่า And how about you? ครูลองแสดงตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า ครูมีความพึงพอใจงานของตน ชีวิตของตน สภาพเช่นนี้ติดต่อไปยังคนรอบข้าง คือ นักเรียนได้มองโลกแง่ดี
จุดสําคัญ คือ พยายามไม่โฟกัสที่เรื่องร้ายๆ หรือข่าวร้าย เพื่อสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่มองโลกแง่ดี ต่อไปนี้เป็นเครื่องมือสร้างการมองโลกแง่ดี
สอนให้เด็กมองเรื่องต่างๆ เสมือนภาพสามมิติ
เรื่องราวต่างๆ มีความซับซ้อน มีหลายมิติ ครูลองฝึกให้นักเรียนหัดมองเรื่องราวต่างๆ จากหลายแง่หลายมุม โดยอาจจับคู่นักเรียน และครูให้สถานการณ์จำลอง แล้วให้นักเรียนผลัดกันเสนอมุมมองต่อเพื่อน ทั้งมุมมองด้านบวก และมุมมองด้านลบ หรือครูอาจเล่าเรื่องจริงในชีวิตของตนเอง เพื่อให้เห็นว่าชีวิตจริงมีหลายแง่มุมจริงๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม และให้ความคิดเห็นเพื่อให้ได้ซึมซับ
ใช้คําที่สร้างพลัง
ครูฝึกให้นักเรียนใช้คําพูดในชีวิตประจําวันที่สร้างพลัง ทัั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวอย่างวิธีฝึก
ให้นักเรียนลองระดมความคิดหาคํา หรือวลีที่มีพลังบวก 10 คําหรือวลี
ให้นักเรียนใช้เวลา 3 ? 5 นาที เขียนเล่าเรื่องดีๆ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ให้นักเรียนใช้ เขียนเวลา 3 ? 5 นาที เขียนเล่าเรื่องที่ก่อปัญหา และสะท้อนคิดบทเรียนจากเรื่องนั้น
ให้นักเรียนเลือกคําที่ก่อพลังประจําวัน และใช้คํานั้นอีก 5 ครั้ง
ครูไม่ควรตั้งคะแนนสำหรับการทำกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมุ่งเรียนรู้เพื่อฝึกตนเอง ไม่ใช่ทําเพื่อคะแนน
เอาชนะความล้มเหลว
หลายคนต่างเคยล้มเหลว ประเด็นสําคัญ คือ เราทําอะไรหลังความล้มเหลวนั้น ความลับ คือ เมื่อเราล้มและก็ลุกขึ้น ดังนั้น บทเรียนจากความล้มเหลว คือ อย่าถอย ท้อได้แต่อย่าถอย พยายามต่อไป โดยใช้ความผิดพลาดเป็นครู
ในพาร์ทนี้ครูอาจลองแชร์เรื่องราวความล้มเหลวของตนในอดีต แล้วให้นักเรียนผลัดกันแชร์เรื่องราวความล้มของตัวเอง ชวนคุยเสนอความคิดเห็นว่าวิธีแก้ของแต่ละคนเป็นอย่างไร
หรือใช้อีกหนึ่งวิธี เรียกว่าเทคนิค ?เขียนอย่างเร็ว (quick write)? จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจตนเอง และมองโลกต่างออกไป ทําโดยให้เวลา 3 ? 10 นาที เขียนวิธีเอาชนะความล้มเหลว เช่น ให้ตอบคําถามฉันจะแก้ปัญหาที่กําลังเผชิญอย่างไร หรือฉันจะยกระดับเกรดที่ได้ในการทดสอบครั้งต่อไปได้อย่างไร แล้วให้นักเรียนแชร์ข้อเขียนกับเพื่อนเป็นกลุ่ม หรือแชร์กับเพื่อนทั้งชั้น
ผู้เขียนหนังสือแนะนําหนังสือ The Success Principles เขียนโดย Jack Canfield (2015) สําหรับเป็นคู่มือหาวิธีการสร้างเจตคติเชิงบวกในชั้นเรียนประจําวันเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียน
2.สร้างความหวังทุกวัน
การสร้างความหวังทุกวัน เป็นกระบวนการปลูกฝังความเชื่อว่า ชีวิตคนเรามีโอกาสทําสิ่งที่มีคุณค่าได้ ครูอาจเริ่มโดยการสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในลักษณะที่ให้เกียรติและเข้าใจความคิดของนักเรียน แค่นี้ก็ช่วยให้นักเรียนมีความหวัง นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือสร้างความหวัง ดังตัวอย่าง
สอนการตั้งเป้า
การจัดการอนาคตของตนเองเป็นหนึ่งในการสร้างความหวัง ลองฝึกนักเรียนให้เขียนเป้าหมายใหญ่ของตนและตารางเป้าหมายรายทางบนกระดาษ โดยช่วงเวลาของแต่ละเป้ามีช่องให้กรอกความก้าวหน้า ครูสอนนักเรียนให้ประเมินความก้าวหน้าเป็น นํามาเป็นข้อมูลป้อนกลับ เพื่อปรับปรุงวิธีทํางานสู่ผลงานที่ดียิ่งขึ้น
แสดงความก้าวหน้าประจําวัน
ครูลองจัดให้มีแผ่นภาพแสดงเป้าหมายของชั้นเรียน และความก้าวหน้าติดในห้องเรียน อาจแสดงรายงานความก้าวหน้าของทีม อาจแนะนําให้นักเรียนแต่ละคนเขียนรายงานความก้าวหน้าของตนเอง การได้เห็นความก้าวหน้า เป็นการสร้างความหวัง
ใช้คํายืนยันความหวัง
ทําให้เป็นวัฒนธรรมของชั้นเรียนว่า ทุกคนจะพูดคําปลุกใจ ให้พลังแก่กันและกันในชั้นเรียนประจําวัน หรืออาจจัดทําโปสเตอร์ มีคําปลุกใจ ติดในห้องเรียน หรือแนะนําหนังสือเกี่ยวกับความหวังและความสําเร็จให้นักเรียนลองอ่าน
อาจกําหนดให้นักเรียนผลัดกันเขียนคําหรือวลีแสดงความหวัง นํามาอ่านหน้าชั้น
สร้างแนวความคิดของตนเอง และยกระดับความพยายาม
ครูต้องหมั่นยืนยันจุดแข็งของนักเรียนแต่ละคน และสนับสนุนให้นักเรียนสร้างแนวความคิดของตนเอง และเพิ่มระดับความมานะพยายามของตน การมุ่งส่งเสริมด้านที่เป็นจุดแข็งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การแก้ไขจุดอ่อน และรู้จักใช้ประโยชน์ของคําแนะนําป้อนกลับ ซึ่งวิธีการมีดังต่อไปนี้
หนึ่งนาทีแห่งพลัง
ให้นักเรียนเล่าเรื่องที่มีพลัง เรื่องละ 1 นาที ในประเด็นต่อไปนี้
ความสามารถพิเศษของตน
คนที่ตนได้ช่วยเหลือเมื่อเร็วๆ นี้
สิ่งที่ตนยกย่องในคนอื่น
เรื่องราวการช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเร็วๆ นี้
การบรรลุเป้าหมายรายทางหรือเป้าหมายรายทางเมื่อเร็วๆ นี้
อาจจัดกิจกรรมสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 3 ? 4 นาที (โดยส่วนตัวมองว่าวันที่เหมาะที่สุด คือ วันจันทร์ หรือวันศุกร์) แต่ละครั้งมีนักเรียน 3 ? 4 คน เป็นผู้พูด โดยอาจพูดในเวทีแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบ ได้แก่ 1.เขียน 2.บอกต่อเกลอร่วมเรียน 3.บอกในทีมร่วม เรียนรู้หรือทําโครงงาน และ 4.เล่าในชั้นเรียนทั้งชั้นหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป โดยต้องให้เกียรติความเป็นส่วนตัวของนักเรียนด้วย รวมทั้งครูต้องไม่สรรเสริญความฉลาดของนักเรียน แต่ชมความพยายาม กลยุทธ์ การเลือกประเด็น และเจตคติของนักเรียน เพราะการชมความฉลาดจะก่อ ?ชุดความคิดหยุดนิ่ง? (fixed mindset) ส่วนการชมแบบหลังช่วยปลูกฝัง ?ชุดความคิดเจริญเติบโต? (growth mindset)
3. เชื่อมโยงความสําเร็จของนักเรียนสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
สิ่งที่ครูใช้ คือ attribution หมายถึงการเชื่อมโยงการกระทํากับผลที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนตระหนักว่าสิ่งที่ตนกำลังทํานั้นจะนําไปสู่การบรรลุผลที่ตนใฝ่ฝัน เป็นการยืนยันความสามารถของนักเรียน โดยอธิบายเชื่อมโยงรายละเอียดของการกระทําไปสู่ผลที่เห็น ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องคือ ?สมศักดิ์เธอเขียนได้ดีมาก? คําพูดที่มีพลังกว่าคือ ?สมศักดิ์การที่เธอเขียนอธิบาย กลยุทธ์ทําให้ครูเข้าใจชัดเจนว่าเธอกําลังบอกอะไร และกลยุทธ์นี้จะช่วยให้เธอประสบความสําเร็จในการตีพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่?
ครูต้องใช้คําพูด attribution ที่เหมาะสมต่ออายุ หรือระดับความเข้าใจของนักเรียน แบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
ระดับ 1 (อายุ 5 ? 6 ปี ) พึงตระหนักว่า นักเรียนยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างความพยายามกับความสามารถ หรือระหว่างเหตุกับผล
ระดับ 2 (อายุ 7 ? 9 ปี ) นักเรียนเชื่อมโยงผลสําเร็จกับความพยายามเท่านั้น
ระดับ 3 (อายุ 10 ? 11 ปี ) นักเรียนเริ่มแยกแยะความพยายามออกจากความสามารถได้ แต่บางครั้งก็ สับสน
ระดับ 4 (อายุ 12 ปีขึ้นไป) นักเรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่างความพยายามกับความสามารถอย่าง ชัดเจน
นามานุกรมของชั้นเรียน
ครูส่งเสริมให้นักเรียนทําแฟ้ม หรือ เฟซบุ๊ก ระบุจุดแข็งหรือความสามารถพิเศษของนักเรียนแต่ละคน คนละ ๒ ? ๓ อย่าง และอาจเติมความสามารถพิเศษของเพื่อน หรือคนในครอบครัว สามารถใช้เป็นแหล่งค้นหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในชั้นที่นักเรียนไปขอความช่วยเหลือได้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญการแก้ปัญหาโทรศัพท์มือถือ ผู้เชี่ยวชาญการซื้อเสื้อผ้า ผู้เชี่ยวชาญแบดมินตัน ผู้เชี่ยวชาญวิชาคณิตศาสตร์ ฯลฯ
4.ส่งเสริมสนับสนุนการมีความฝัน
วิธีช่วยให้เด็กค่อยๆ พัฒนาความคิด เส้นทางชีวิตและความสามารถ ทําโดยตั้งคําถามเรื่องความฝัน เรื่องอนาคต ของตนเอง คําถามเชิงขุดลึกเข้าไปภายในตนที่นักเรียนถามตนเองต่อไปนี้ จะช่วยให้นักเรียนคิดถึงอนาคต และความสามารถในปัจจุบันของตนเอง
ฉันอยากเป็นอะไรใน 5 ปี 10 ปี และ 15 ปี
ขณะนี้ฉันมีความสามารถพิเศษอะไรบ้าง
ฉันจะช่วยคนอื่นได้อย่างไรบ้าง
ฉันอยากเป็นคนแบบไหน
นักเรียนอาจตอบคําถามเหล่านี้ออกมาเป็นเพลง ภาพวาด บทกวี ข้อเขียน หรือเล่าแชร์กับเพื่อนๆ ซึ่งจะช่วยให้ ความฝันชัดเจนยิ่งขึ้น โดยต้องมีกติกาในชั้นว่าห้ามดับฝัน เมื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งแชร์ความฝัน อาจไม่มีเพื่อนสนับสนุนเลย แต่จะมีคนคนหนึ่งที่สนับสนุน คือ ครู
เมื่อใดก็ตามที่นักเรียนเสนอความฝันที่ดูเสมือนเพ้อฝัน ครูต้องชวนเด็กว่า ?มา? เรามาวางแผนกัน?
ที่มา
https://thepotential.org/knowledge/positivity-mindset/
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดีกับนักเรียน
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?