ผู้เขียน หัวข้อ: กูรูต่างชาติแนะแนวปรับระบบการเรียนการสอนไทย มุ่งเน้น Active Learning  (อ่าน 2706 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
สองผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากองค์กรต่างประเทศ แสดงความเห็นและสนับสนุนการเดินหน้าปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนของครู ให้เป็นไปตามรูปแบบ Active Learning ที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

โดยย้ำว่าทักษะความคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญสำหรับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และครูต้องปรับสไตล์การสอน เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ความเห็นครั้งนี้มีขึ้นระหว่างการปฐมนิเทศการอบรมทักษะกระบวนการจัดการการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโครงการครูรัก(ษ์)?ถิ่นรุ่นที่ 1? โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กสศ. กล่าวว่าการอบรมครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่า การจัดการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ มีการระดมความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน มีแนวโน้มที่จะเป็นการสร้างการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เนื่องจากการที่ครูมีสถานะเป็นคนให้และเด็กมีหน้าที่เป็นผู้รับอย่างชัดเจน ไม่ตอบโจทย์บริบทโลกยุคใหม่อีกต่อไป

?เราเชื่อว่าการเรียนการสอนที่ดี เกิดจากการลงมือทำร่วมกันของครูกับนักเรียน และแนวทางการสอนของครูจะมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับลูกศิษย์ ซึ่งการอบรมครั้งนี้จะเป็นการติดอาวุธให้ครู เพื่อให้กับลูกศิษย์ในโครงการครูรัก(ษ์)?ถิ่น ที่จะกลับไปพัฒนาเด็กในบ้านเกิด ช่วยยกระดับคุณภาพและความเสมอภาคทางการศึกษาของไทย ให้เป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้น?

ด้านพอล คอลลาร์ด (Paul Collard) ผู้ก่อตั้งองค์กร Creativity, Culture and Education (CCE) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนทั่วโลก กล่าวว่า การเรียนการสอนเพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ขณะที่ไทยเรียกการสอนแบบนี้ว่า Active Learning บางประเทศก็เรียกว่า Creative Critical? Thinking หรือ Creative Activity

แต่ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันอย่างไร หลักการเรียนแบบ Active Learning ก็คือการออกแบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นการเรียนรู้ทักษะที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง และบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงเป็นทักษะที่ทำให้รู้ว่า จะสามารถหาหนทางพัฒนาตนเองต่อไปได้อย่างไร   

?อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายว่า?ภายใต้ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพมากแค่ไหน ก็ยังไม่ดีเพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ในแบบที่เราต้องการ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในโลกศตวรรษที่ 21?

ทั้งนี้คำว่าโลกในศตวรรษที่ 21 หมายความว่าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย มีพลวัตรที่ลื่นไหล มีการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก และพรมแดนแบ่งกั้นระหว่างประเทศเลือนราง ทำให้การเรียนรู้เปิดกว้าง ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน และผู้คนต้องการความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้รู้จักยืดหยุ่น พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

แม้จะตระหนักถึงความสำคัญ แต่สถานการณ์การศึกษาของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนให้ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ โดยเฉพาะไทยที่สถานการณ์การศึกษาค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19  จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนตามระบบหลักสูตรการศึกษาของไทยก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยรุนแรงขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น เด็กที่มีโอกาสเรียนหนังสือในเมืองสามารถประสบความสำเร็จได้ดีกว่าเด็กที่เรียนหนังสืออยู่ในชนบท ทั้งๆ ที่การศึกษาควรมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานของไทยในขณะนี้ ไม่อาจตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพ และถึงเวลาที่ต้องปรับการสอนให้เหมาะกับตัวตน? ขีดความสามารถของผู้เรียน มากกว่าให้เป็นไปตามที่ระบบการศึกษาคาดหวัง ดังนั้นจึงต้องนำวิธี Active Learning เข้ามาปรับใช้

ขณะที่ได หรือไดแอน ฟิชเชอร์-เนย์เลอร์ (Di หรือ Diane Fisher-Naylor) ผู้อำนวยการองค์กร Creativity, Culture and Education (CCE) ผู้รับหน้าที่ออกแบบกระบวนการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม? สนับสนุน? และบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ในระบบการศึกษาทั่วโลก สำหรับบุคลากรในแวดวงการศึกษา ตั้งแต่ระดับครูผู้ปฏิบัติการไปจนถึงระดับศาสตราจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา กล่าวเสริมว่าการเรียนที่เน้นบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์กำลังเป็นประเด็นหลัก ที่หลายหน่วยงานด้านการศึกษาทั่วโลกให้ความสำคัญอยู่ในเวลานี้

โดยไดย้ำชัดว่า การคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่เป็นทักษะที่จำเป็นในโรงเรียน แต่ยังเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในปัจจุบัน

ในฐานะผู้ออกแบบการเรียนแบบ Active Learning มาอย่างช่ำชอง ไดแนะนำว่าครูควรมีบทบาทสำคัญในฐานะนักออกแบบ (designer) มากกว่าครูผู้สอน (lecturer) ซึ่งหมายความว่า นักออกแบบต้องใช้เวลาเพื่อสังเกตและทำความเข้าใจคนที่ตนเองต้องออกแบบให้อย่างลึกซึ้ง โดยในที่นี้ก็คือ?ท?ำความรู้จักและเข้าใจธรรมชาติของนักเรียนแต่ละคนเป็นอย่างดี

การเรียนแบบ Active Learning ไม่มีแนวทางที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบท รวมถึงธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสำคัญ กระนั้นหลักการสำคัญก็คือ?การที่ครูไม่ใช่ผู้สอน นักเรียนไม่ใช่เครื่องจำ และบรรยากาศห้องเรียนจะส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กพูด ถาม และแสดงความเห็นได้ตลอดเวลา

ขณะเดียวกัน การถามคำถามไม่มุ่งเน้นความถูก-ผิด แต่มุ่งให้เด็กได้คิดว่าทำไม ให้เด็กได้สนทนากับเพื่อนร่วมห้อง โดยไดย้ำชัดว่า ความผิดพลาด ความไม่ถูกต้องของนักเรียนในห้องเป็นเรื่องที่ดี ไม่ควรตำหนิ ตรงกันข้ามควรให้กำลังใจและสนับสนุน เพื่อให้เด็กได้ค้นพบแนวทางที่จะก่อร่างสร้างวิถีการเรียนรู้ของตนเอง

สิ่งสำคัญของการเรียนแบบ Active Learning คือต้องจัดสรรเวลาเพื่อให้เด็กคิด และครูมีเวลามากพอในการสังเกตตัวตนของเด็ก ซึ่งเคล็ดลับของครูที่ดีคือครูที่มี ?ดวงตา ใบหู และหัวใจที่ใหญ่? (Big Eyes, Big Ears and Big Hearts) เพื่อมองเห็น ได้ยิน และยอมรับ ธรรมชาติและตัวตนของลูกศิษย์ ทำให้สามารถชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ที่เด็กคนหนึ่งจะสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้

ที่มา :
การอบรมทักษะกระบวนการการจัดการการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโครงการครูรัก(ษ์)?ถิ่นรุ่นที่ 1
สำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 14.30 ? 16.00 น.

เว็บไซต์ https://www.eef.or.th/news-thai-active-learning/