เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ยามาดะ (Yamada) ซามูไรอโยธยา
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ยามาดะ (Yamada) ซามูไรอโยธยา (อ่าน 3665 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ยามาดะ (Yamada) ซามูไรอโยธยา
เมื่อ:
กรกฎาคม 29, 2015, 11:52:34 PM
นครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคใต้และถือเป็นหัวเมืองเอกที่มีความสำคัญมาแต่สมัยโบราณ เจ้าเมืองมียศเป็นถึงเจ้าพระยา แต่ทราบหรือไม่ว่าครั้งหนึ่ง นครศรีธรรมราชเคยมีเจ้านครเป็นนักรบซามูไรจากญี่ปุ่น ซึ่งนามของซามูไร ผู้ที่โชคชะตาดลบันดาลให้เขาได้กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินอโยธยา ก็คือ ยามาดะ นากามาสะ
ชาวญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาค้าขายกับอยุธยาเป็นเวลานานแล้ว และตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๐๘๓ ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย โดยมีชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาที่บริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของเกาะเมือง ส่วนนักรบซามูไรได้เข้ามาเป็นทหารรับจ้างในกองทัพอยุธยาตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนเรศวร ดังมีบันทึกในคราวสงครามยุทธหัตถีในปีพุทธศักราช ๒๑๓๓ ว่า ? พระเสนาภิมุขขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร ถือพลอาสาญี่ปุ่น ๕๐๐ ?
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้มีการจัดตั้งเป็นกรมอาสาญี่ปุ่นขึ้นโดยเจ้ากรมมีตำแหน่งเป็นออกพระเสนาภิมุขถือศักดินา ๑๐๐๐ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นว่ามีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่เข้ามาแสวงโชคยังอยุธยา โดย ยามาดะ นากามาสะเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
ยามาดา นากามาสะเกิดที่เมืองโอวาริ ซึ่งปัจจุบันอยู๋ใกล้ ๆ กับนาโงย่า เป็นกำพร้าบิดาแต่เล็กและอาศัยอยู๋กับมารดาและบิดาเลี้ยง เมื่อโตขึ้นได้เป็นซามูไรระดับล่างทำหน้าที่หามแคร่ของจิอุเอมอน โอคุบุ ไดเมียว (เจ้าเมือง) แห่งแคว้นซุนชู ในเวลาต่อมา ยามาดะได้หนีออกจากบ้านและติดตามเรือสินค้าของพ่อค้าจากแคว้นซูรุกะที่เดินทางไปค้าขายยังไต้หวัน หลังเสร็จสิ้นการค้าแล้ว ยามาดะได้ติดตามเรือสินค้าลำดังกล่าวเดินทางมาเมืองไทย
ขณะอยู่ในเมืองไทยยามาดะได้ประกอบอาชีพค้าขายจนร่ำรวยและต่อมาได้สมัครเข้าเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้เลือนตำแหน่งจนเป็นถึงออกญาเสนาภิมุขเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งนั้น ยามาดะยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นด้วย จนมาถึงปลายรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ประชวรหนักใกล้สวรรคตและได้มอบราชสมบัติให้กับพระเชษฐาธิราช ผู้เป็นราชโอรสแทนที่จะมอบให้พระศรีศิลปผู้เป็นพระอนุชาซึ่งเป็นพระมหาอุปราชตามธรรมเนียม และในการนี้พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงปรึกษากับออกญาศรีวรวงศ์อดีต จมื่นศรีสรรักษ์ ข้าหลวงเดิมและขุนนางคนสนิท เนื่องจากเวลานั้น เหล่าขุนนางได้แบ่งเป็นสองฝ่ายโดยฝ่ายหนึ่งหนุนหลังพระมหาอุปราชอยู่ ออกญาศรีวรวงศ์จึงได้เกลี้ยกล่อมออกญาเสนาภิมุขหรือ ยามาดะ ให้ช่วยเหลือพระเชษฐาธิราชในการขึ้นครองราชย์ ออกญาเสนาภิมุขตกลงและได้นำกองอาสาญี่ปุ่นเข้าตรึงกำลังในพระราชวังหลวง
วันที่ ๒๒ เดือนอ้าย ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๑๗๑) พระเจ้าทรงธรรมสวรรคต สมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อ จากนั้นออกญาศรีวรวงศ์ก็ได้กำจัดขุนนางฝ่ายตรงข้ามจนหมด จากการนี้ทำให้ออกญาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ โดยเจ้าพระยากลาโหมยังคงวางแผนถอนรากถอนโคนฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้น แต่เนื่องจาก ในยามนั้น พระศรีศิลป์ องค์อุปราชยังทรงผนวชอยู่ ออกญากลาโหมจึงขอร้องให้ยามาดะจัดการ โดยให้นำตัวพระศรีศิลป์กลับมาในสภาพของฆราวาสให้ได้
ยามาดะได้ลวงพระศรีศิลป์ว่าจะช่วยให้ครองราชย์และได้ขอให้เสด็จกลับไปในฐานะมหาอุปราช พระศรีศิลป์หลงเชื่อและยอมลาสิกขาออกมา จึงถูกกุมตัวไปขังไว้ที่เพชรบุรี ทว่าขุนนางคนสำคัญของพระศรีศิลป์คือ หลวงมงคล ได้ลอบเข้าไปช่วยพระองค์ออกมาได้ จากนั้นหลวงมงคลได้รวบรวมรี้พลได้สองหมื่นและประกาศให้พระศรีศิลป์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เพชรบุรีนั่นเอง
หลังจากทราบข่าว ทางกรุงศรีอยุธยาได้แต่งตั้งออกญารามคำแหงเป็นแม่ทัพถือพลสองหมื่น พร้อมออกญาเสนาภิมุขคุมนักรบซามูไร ๘๐๐ นาย เข้าปราบกบฏครั้งนี้
และในการนี้เอง ที่ยามาดะได้ลวงหลวงมงคลว่าจะแปรพักต์และนำทหารญี่ปุ่นมาเข้าด้วย ทำให้หลวงมงคลเกิดความชะล่าใจ ครั้นถึงเวลาออกรบจึงสั่งให้ไพร่พลมุ่งโจมตีแต่กองทัพกรุงอย่างเดียว โดยมิต้องสนใจทหารญี่ปุ่น แต่ยามาดะกลับสั่งให้ทหารของตนเข้าตีทัพกบฏอย่างดุเดือด ผลก็คือ กองทัพกบฏแตกพ่ายและพระศรีศิลป์ถูกจับตัวได้อีกครั้ง ก่อนจะนำมาสำเร็จโทษที่กรุงศรีอยุธยา
ต่อมาสมเด็จพระเชษฐาธิราชเกิดระแวงเจ้าพระยากลาโหมและวางแผนกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหมรู้ตัวจึงชิงลงมือก่อนโดยนำกำลังยึดพระราชวังและจับพระเชษฐาธิราชสำเร็จโทษ ครั้นเมื่อแผ่นดินว่างกษัตริย์ เจ้าพระยากลาโหมได้ปรึกษากับเหล่าขุนนางว่าจะยกผู้ใดเป็นกษัตริย์เหล่าขุนนางซึ่งเกรงกลัวเจ้าพระยากลาโหมได้พากันเสนอให้เจ้าพระยากลาโหมขึ้นเป็นกษัตริย์แทน แต่ออกญาเสนาภิมุขซึ่งขณะนั้นมีอำนาจมากได้คัดค้านและเห็นว่าควรให้เชื้อสายพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์ เจ้าพระยากลาโหมจึงได้ยกเอาสมเด็จพระอาทิตยวงศ์พระอนุชาของพระเชษฐาธิราชขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่เนื่องจากทรงมีพระชนม์เพียงสิบชันษา เจ้าพระยากลาโหมจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
หลังจากนั้นเจ้าพระยากลาโหมได้กำจัดออกญารามคำแหงซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ที่มีอำนาจมากคนหนึ่ง โดยเพ็ดทูลว่าออกญารามคำแหงคิดการเป็นกบฎ พระเจ้าอยู่หัวจึงสั่งประหารเสีย ทำให้ออกญาเสนาภิมุขโกรธแค้นเจ้าพระยากลาโหมเป็นอันมาก เนื่องจากออกญารามคำแหงนั้นเป็นสหายสนิทของตน เจ้าพระยากลาโหมจึงเริ่มไม่ไว้วางใจออกญาเสนาภิมุขและคิดหาวิธีกำจัดให้พ้นทาง ต่อมาเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฎ จึงให้ออกญาเสนาภิมุขไปปราบ เมื่อออกญาเสนาภิมุขปราบกบฎสำเร็จ เจ้าพระยากลาโหมได้ขอให้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ออกญาเสนาภิมุขเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งการแต่งตั้งครั้งนี้ ทำให้ เจ้าพระยากลาโหมสามารถขจัดออกญาเสนาภิมุขไปจากเมืองหลวงได้สำเร็จ
เมื่อขจัดเสี้ยนหนามได้แล้ว เจ้าพระยากลาโหมซึ่งมีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น ได้กล่าวโทษ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ว่า ไม่สนใจราชกิจเอาแต่เที่ยวเล่นไปวันๆ และให้ปลดออกจากราชสมบัติเสีย จากนั้นจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ครั้นเมื่อออกญาเสนาภิมุขทราบเรื่องทั้งหมดก็ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากตนเองยังมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าทรงธรรมอยู่และเห็นว่าถ้าพระอาทิตยวงศ์ยังครองราชย์อยู่ ออกญาเสนาภิมุขซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระองค์เนื่องจากเป็นครูสอนดาบซามูไรให้ ก็ยังมีโอกาสจะกลับมาเป็นใหญ่ในกรุงอีกครั้ง ทว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่เจ้าพระยากลาโหมได้ขึ้นเป็นกษัตริย์นี้ ก็อาจทำให้ออกญาเสนาภิมุขถูกกำจัดได้ง่าย ๆ
อย่างไรก็ตาม ออกญาเสนาภิมุขก็ยังไม่ได้เคลื่อนไหวอันใด เนื่องจากได้เกิดการแข็งเมืองของนครรัฐปัตตานี ซึ่งไม่พอใจพวกญี่ปุ่นที่มีอำนาจในนครศรีธรรมราช โดยนครปัตตานีได้สมคบกับบรรดาหัวเมืองมลายูและพวกโจรสลัดรวมกำลังกันยกทัพมาตีนครศรีธรรมราช ออกญาเสนาภิมุขได้ยกทัพเมืองนครและพลอาสาญี่ปุ่นไปทำศึกครั้งนี้ แม้ว่าจะเอาชนะกองทัพปัตตานีได้ แต่เขาก็ต้องอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส
พระเจ้าปราสาททองทรงทราบเรื่องทั้งหมด ด้วยความพอพระทัยและได้มีคำสั่งลับให้ออกพระมะริดน้องชายเจ้านครเก่า วางยาพิษสังหารเจ้านครชาวญี่ปุ่นผู้นี้เสีย ในที่สุดยามาดะหรือออกญาเสนาภิมุขก็เสียชีวิตลงด้วยยาพิษ จากนั้นออกพระมะริดจึงนำกำลังเข้ายึดเมืองนคร ทว่า ออกขุนเสนาภิมุข (โออิน) บุตรชายของยามาดะกลับสังหารออกพระมะริดและนำนักรบซามูไรเข้ายึดเมืองนครไว้ จากนั้นได้วางแผนยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพระเจ้าปราสาททอง เมื่อทรงทราบเรื่องจึงให้กวาดล้างชาวญี่ปุ่นในกรุง ทำให้พวกทหารญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธญารวมกำลังกันตีฝ่าวงล้อมและไปสมทบกับ โออินที่นครศรีธรรมราช
ทางฝ่ายโออิน ได้ปกครองเมืองนครอย่างกดขี่ ปล้นชิงผู้คนตามใจชอบ ทำให้ชาวเมืองก่อจลาจล นอกจากนี้ยังเกิดการขัดแย้งกันเองในหมู่ชาวญี่ปุ่น ทำให้ต้องเลิกล้มแผนตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุด เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ในเมืองนคร เริ่มเป็นอันตรายต่อพวกตน โออินจึงตัดสินใจนำชาวญี่ปุ่นฝ่ายเดียวกับตน หลบหนีไปยังกัมพูชา โดยได้อาสาเป็นแม่ทัพให้กับกษัตริย์กัมพูชา และได้เสียชีวิตในการรบกับกองทัพล้านช้างในเวลาต่อมา
ที่มา :
http://www.komkid.com
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ยามาดะ (Yamada) ซามูไรอโยธยา
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?