ผู้เขียน หัวข้อ: คุณและโทษของสบู่ ประโยชน์และอันตรายของสบู่  (อ่าน 7935 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3928


       ในครั้งต่อไปที่คุณเดินหาสบู่ หรือ ซื้อสบู่ที่คุณโปรดปรานอยากให้คุณลองอ่านฉลากของสบู่ที่คุณจะซื้อ ว่าเป็นสบู่ที่มีการผลิตโดยสารเคมีหรือไม่ ส่วนมากการผลิตสบู่เพื่อการค้านี้มักจะมีการสกัดสารกลีเซอร์ลีนขึ้นมาเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว ซึ่งนั่นเป็นอันตรายอย่างมากกับผิวคุณและยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเมื่อฟองของสบู่ที่คุณฟอกตัวได้ถูกล้างลงไปในท่อระบายน้ำ

       โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นสบู่ที่ผลิตขึ้นตามธรรมชาติจะมีกลีเซอร์ลีนธรรมชาติอยู่ในตัวสบู่อยู่แล้ว เพียงแต่มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเพราะมีราคาสูงกว่าสบู่ทั่วไปในท้องตลาด แต่คุณควรเข้าใจว่าผิวของคนเรานั้นมันจะเป็นรูพรุนสามารถซึมซับสิ่งที่เราใช้กับผิว ในสบู่ทั่วไปนอกจากกลีเซอร์ลีนที่ผลิตจากสารเคมีแล้วยังมีสารสังเคราะห์ช่วยให้มีสีสวยงามและน้ำหอมซึ่งทำให้สบู่มีกลิ่นหอม สิ่งเหล่านี้เป็นสารเคมีอันตรายที่จะซึงซับเข้าไปสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังของเรา และเมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้าก็จะทำลายต่อมน้ำมันใต้ผิวทำให้ผิวแห้ง หรือสารเคมีสะสมนั้นอาจทำอันตรายต่อระบบโลหิตของเราได้ และแน่นอนว่าสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะไม่มีการบ่งบอกไว้ในฉลากอย่างแน่นอน

       แต่การใช้สบู่ที่ทำด้วยมือหรือสบู่ที่ทำจากธรรมชาตินั้นก็มีอยู่ 2แบบคือแบบร้อนและแบบเย็น ซึ่งแน่นอนว่าการผลิตสบู่แบบเย็นนั้นย่อมดีที่สุด เพราะสารสกัดจากธรรมชาติที่นำมาใช้ผ่านการสกัดเย็นจะคงไว้ซึ่งคุณภาพของสิ่งที่นำมาสกัดได้มากกว่า ฉะนั้นจึงคงสรรพคุณของตัวธรรมชาติชนิดนั้นๆเอาไว้เต็มที่
ในปัจจุบันนี้ที่ประเทศของเราก็มีการผลิตสบู่จากธรรมชาติออกมามากขึ้น มีทั้งที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ถั่ว และน้ำมันจากเมล็ดพืชต่างๆที่อุดมคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อผิว จากการวิจัยเราพบว่าการใช้สบู่แบบธรรมชาตินี้ไม่มีสารที่จะทำลายต่อมไขมันใต้ผิวหนังของเราและไม่มีสารตกค้างอันตรายใดๆที่จะสะสมอยู่ที่ผิวของเรา และสามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิว

       วันนี้มีคนมากมายทั่วโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเราแล้วมันยังไม่ทำร้ายโลกด้วย ถ้าคุณสนใจจะใช้สบู่ที่ผลิตจากธรรมชาติคุณสามารถอ่านที่ฉลากของสบู่ว่าชนิดใดที่จะเหมาะกับความต้องการของคุณ และมีส่วนผสมของอะไรบ้างเราคิดว่าคุณคงจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเองมากกว่าการถูกทำลายโดยสารเคมีแบบไม่รู้ตัวต่อไป

บทความจาก Nature News
ที่มา: Nature News
และ http://women.postjung.com/687134.htm
l