ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระบรมสารีริกธาตุ  (อ่าน 7042 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:43:44 PM

พระบรมสารีริกธาตุ คือ
ธาตุส่วนต่างๆ ในพระวรกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กลายเป็นพระธาตุหลังถูกพระเพลิง


ซึ่งแยกชิ้นส่วนเป็นของแข็งคือ กระดูก วนที่เป็นของอ่อน คือ ส่วนเนื้อหนังและอวัยวะภายในทั้งหมด

ซึ่งกล่าวได้ว่า "พระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งหมดหลังการถูกพระเพลิงจะกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุทั้งสิ้น"

พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เรียกเป็นภาษาสามัญว่า "กระดูกของพระพุทธเจ้า" เป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ



หลังจากทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้มีการจัดการพระศพเยี่ยงพระเจ้าจักรพรรดิทั่วไป คือพระห่อพระศพด้วยผ้าใหม่ แล้วหุ้มสำลีสลับกัน ๕๐๐ ชั้น ใส่ลงในรางน้ำมันที่ทำด้วยเหล็ก แล้วปิดด้วยฝาเหล็ก ตั้งเผาบนไม้หอม เสร็จแล้วจึงนำไปบรรจุในสถูป ที่สร้างไว้บนทางสี่แพร่งเพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนที่มาทั้งสี่ทิศ

แต่ในการถวายพระเพลิงพระศพของพระพุทธเจ้า ได้จัดสถานที่ให้ประชาชนได้มาถวายบังคม ๗ วัน ก่อนที่จะอัญเชิญพระศพเข้าพระนคร

เสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระเพลิงติดขึ้นในทันใด เมื่อพระศพไหม้พระเพลิงดับ จึงได้มีพิธีรวมพระอัฐิธาตุและพระอังคาร (เถ้าถ่าน) ไปตั้งสักการะกลางพระนครอีก ๗ วัน

ซึ่งปรากฏว่าหลังพระเพลิงดับ

พระฉวี (หนังกำพร้า) พระมังสะ (เนื้อ) พระจัมมะ (หนัง) และพระลสิกา (ไขข้อ) และพระนารหุ (เอ็น)

ได้ไหม้และกลายเป็นเถ้าถ่าน

ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า

ภายหลังได้กลายเป็นพระธาตุทั้งสิ้น นอกจากนี้ผ้าชั้นนอกและผ้าชั้นในคู่หนึ่งไม่ไหม้

ส่วนพระอัฐฺธาตุทั้งปวงนั้นไหม้ทั้งหมด
แต่กลับกลายเป็นเกล็ดสีขาวบริสุทธิ์
สัณฐานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วแตก
สัณฐานกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก
สัณฐานเล็กเท่าเมล็ดผักกาด และเท่าเมล็ดงา


ส่วนที่ยังเป็นชิ้นตามรูปเดิม คือ

พระอุณหิสธาตุ (พระอัฐิหน้าผาก) ๑
พระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ๔
พระอักขธาตุ (พระรากขวัญ) ๒
พระทันต์ทั้ง ๓๖ ซี่
พระเกศา พระโลมา และพระขนา


ตามตำนานพบพระบรมสารีริกธาตุมีเพียง ๔ สัณฐาน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น

แต่ตามความเป็นจริงแล้ว พระบรมสารีริกธาตุยังมีสัณฐานพิเศษ นอกเหนือจากที่ตำรากล่าวไว้อีกมากมาย



นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พระบรมสารีริกธาตุในส่วนที่มาจากกระดูกนั้น จะสามารถลอยน้ำได้ แต่ต้องค่อยๆ เอาภาชนะช้อนองค์พระธาตุไปวางไว้ในน้ำ ให้น้ำค่อยๆ รองรับองค์พระธาตุ


ลักษณะการลอยนั้นองค์พระธาตุจะลอยปริ่มน้ำ กดน้ำจนเป็นแอ่งคล้ายวังน้ำวน และองค์พระธาตุก็จะอยู่ระดับเดียวกันกับผิวน้ำ แล้วจะค่อยๆ เคลื่อนเข้ามารวมกัน

พระธาตุของพระอรหันต์ชั้นสูงก็เช่นเดียวกัน เมื่อพระสาวกได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมชั้นสูง จิตใจที่บริสุทธิ์หมดซึ่งกิเลส พลังแห่งการสั่งสมบารมีจะปรากฏให้เห็น ซึ่งเราเรียกพระธาตุของพระอรหันต์ว่า "พระอรหันตธาตุ" ซึ่งสามารถลอยน้ำได้เช่นกัน




ที่มา...ลานธรรมจักร