เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู (อ่าน 2692 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
เมื่อ:
ธันวาคม 06, 2015, 09:38:58 AM
ชุลีพร อร่ามเนตร
"ห้องเรียน"เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ระหว่างครู-เด็ก เด็ก-เด็ก และครู-ครู ล่าสุด คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท บิโก (ไทยแลนด์) จำกัด(มหาชน) เชิญ "ศ.มานาบุ ซาโต ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยกักคุชุอิน และศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยโตเกียว" ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักคิด นักวิชาการ และนักวิจัยระดับแนวหน้าของโลก มานำเสนอแนวคิดเรื่อง "โรงเรียนคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ : วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม" (School as Learning Community (SLC) : Vision, Philosophies and Activity Systems) แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครู จากโรงเรียนในกลุ่มสาธิต จำนวน 26 แห่ง
ศ.มานาบุ กล่าวว่า School as Learning Community : SLC หรือ แนวคิดโรงเรียนคือชุมชนของการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการบูรณาการทฤษฎีทั้งหลายเข้าด้วยกัน การปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียน และในโรงเรียน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งการดำเนินแนวคิด โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ SLC ไม่ได้มุ่งเน้นเทคนิคในการพัฒนา แต่เป็นการบูรณาการ 3 องค์ประกอบสำคัญรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม
"SLC เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ ปรัชญาและระบบกิจกรรมเป็นการบูรณาการแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น การเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างร่วมมือร่วมพลัง และการเรียนรู้ที่เกิดจากการสะท้อนความคิดร่วมกัน โดยอาศัยการศึกษาผ่านบทเรียน ใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง ให้ครูมีเพื่อนร่วมทางในเชิงวิชาชีพ โรงเรียนมีนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตย โน้มน้าวให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในการเรียนรู้ของเด็กที่การพัฒนาวิชาชีพครูต้องดำเนินการบนพื้นฐาน ความสัมพันธ์ในเชิงรับฟัง (Listening Relationship) และการฟังเสียงของผู้อื่น (Listening other's voice)" ศ.มานาบุ กล่าว
รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แนวคิด SLD จะเป็นการทำให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ต้องอยู่ที่ห้องเรียน ชีวิตในชั้นเรียน ทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนไม่มีใครถูกทิ้งหรือโดดเดี่ยว แม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ต่ำหรืออ่อนด้อยก็จะไม่ถูกทิ้ง
"ห้องเรียนเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ห้องเรียนจะเป็นการจัดแบบเปิดที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย คือการให้เกียรติกัน คิด ฟังเสียงของเด็ก ครู ทุกคนคือคนสำคัญ และทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบร่วมกัน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาเพื่อปวงชน ครูต้องรักเด็ก เด็กต้องรักครู เด็กต้องรักกัน" รศ.ดร.สิริพันธุ์ กล่าว
ต่อไปครูต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยครูต้องมาช่วยกันคิด ออกแบบการเรียนรู้ ฝึกพัฒนาการเรียนรู้ และสะท้อนออกมา ให้สามารถพาเด็กก้าวกระโดดไปข้างหน้า ซึ่งมุมมองแบบนี้ โดยเฉพาะการจัดห้องเรียนเป็นมิติที่นักการศึกษาไทยไม่ได้พูดถึง หรือพูดถึงเป็นอันดับท้ายๆ ดังนั้น การปฏิรูปห้องเรียน ยกระดับให้โรงเรียนคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ ต้องเปิดโอกาสให้เด็ก ครู ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ทั้งนี้ปรัชญาใน SLC มี 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ปรัชญาของความเป็นสาธารณะ (Public Philosophy) โรงเรียนจะต้องเริ่มต้นเป็นที่สาธารณะเป็นพื้นที่เปิด และครูทุกคนควรเปิดชั้นเรียนของตัวเองแก่สาธารณะ เพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของตน ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย(Democratic Philoso phy) ให้ความสนใจ วิถีของการมีชีวิตที่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเป็นบุคคลสำคัญของโรงเรียน และ ปรัชญาของความเป็นเลิศ (Philosophy of Excel lence) กิจกรรมการสอน และการเรียนรู้ต้องจูงใจสู่ความเป็นเลิศ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ต่อเนื่อง ส่วนระบบกิจกรรม ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ เด็ก: การเรียนรู้อย่างร่วมมือในห้องเรียน ครู: ความเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของครูที่เกิดจากกิจกรรมศึกษาผ่านบทเรียนที่ทุกคนดำเนินการร่วมกัน และผู้ปกครอง : การมีส่วนร่วมรับผิดชอบการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับโรงเรียน
แนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ใช้การสื่อสารด้วยการพูดคุย ทุกคนสำคัญ และเน้นการเกื้อกูลต่อกัน คนเก่งต้องช่วยคนที่ไม่เก่ง ทำงานเป็นเครือข่าย นักเรียนทุกคน ครูทุกคน โรงเรียนทุกโรงเรียน เป็นศูนย์กลางของตนเอง และเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพราะการศึกษาไม่ใช่การแข่งขันเพื่อเอาชนะ แต่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาเด็กให้ประสบความสำเร็จบูรณาการทุกศาสตร์และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?